เหรียญหล่อพระสุนทรีวาณีเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ กทม. ปี 2495 #490w (ขายแล้ว)
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
เปียโนพระเครื่อง | |||||||||||||||
โดย
|
เปียโน | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
รูปหล่อ เหรียญหล่อ | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
เหรียญหล่อพระสุนทรีวาณีเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ กทม. ปี 2495 #490w (ขายแล้ว) |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
เหรียญหล่อพระสุนทรีวาณีเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ กทม. ปี 2495 เนื้อทองผสม หลังโค๊ต มค๑ หายาก สภาพสวย "พระสุนทรีวาณี" นี้ นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดกันมาของวัดสุทัศน์ แต่เดิมนั้นเป็นภาพพระสุนทรีวาณีหรือเทวนารี สถิตอยู่บนดอกบัว กำเนิดจากพระสูตรสัททาวิเศษสมเด็จพระวันรัต(แดง) วัดสุทัศน์ ทรงให้หมื่นศิริธัชสังกาศ-เจ้ากรม(แดง) เขียนขึ้นประดิษฐานในพระตำหนักของสมเด็จฯ ปรากฏว่าเป็นที่สนพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงทรงมีพระราชวิจารณ์เรื่องภาพสุนทรีวาณีนี้ พระราชทานสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ โดยมีพระราชดำริว่า อาจเกี่ยวเนื่องกับลัทธิมหายาน เพราะเป็นรูปดอกบัวขึ้นจากน้ำ ดอกกลางเป็นดอกบัวบาน มีรูปนางฟ้านั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายพาดตักอย่างพระมารวิชัย ในอุ้งหัตถ์มีดวงแก้ว พระหัตถ์ขวาทำอาการกวัก ดุจพระคันธารราษฎร์ ดอกริมเป็นดอกบัวโรย เบื้องขวามีรูปบุรุษ เบื้องซ้ายมีรูปสตรีนั่งพับเพียบประนมมือ เบื้องบนมีรูปเทวดาถือเครื่องสักการะดั้นเมฆสองแถวซ้อนกัน เบื้องล่างมีรูปนาคกับสัตว์ต่าง ๆ พระสมมติอมรพันธ์ได้สืบค้นว่า เป็นแบบที่สมเด็จพระวันรัต (แดง) คิดออกมาจากคาถาบทหนึ่ง ในหนังสือสัททาวิเศษ ให้ช่างเขียนรูปไว้ เรียกว่า "รูปสุนทรีวาณี" กรมพระสมมติอมรพันธ์ ได้นำรูปแผ่นต้นนั้นมาถวายทอดพระเนตร รูปนั้นเป็นที่ต้องพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเป็นอันมาก จนถึงพระราชดำริจะทำประกอบกับแผ่นศิลาจารึก ประดิษฐานไว้ที่วัดเบญจมบพิตร ดูประหนึ่งมีพระราชดำริให้เป็นที่ระลึกถึงสมเด็จพระวันรัตด้วยสมเด็จพระวันรัต(แดง) ได้อธิบายว่า "รูปสุนทรีวาณี" นั้นหมายถึง พระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ตามที่มาในพระคาถานี้ เป็นหลัก มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรี ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนังฯ "วาณี" หมายถึง นางฟ้า คือ พระไตรปิฎก มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพ ภะสัมภะวะ สุนทะรี มีรูปอันงดงาม เกิดแต่ท้องแห่งดอกบัว คือพระโอษฐ์แห่งพระพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมปราชญ์ทั้งหลาย ปาณีนัง สะระณัง เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ผู้มีปรารถนาทั้งหลาย มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง จงยังใจแห่งข้าพเจ้าทั้งหลายให้ยินดี สมเด็จพระวันรัต(แดง) กล่าวว่า อาจารย์ของท่านทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ สอนให้บริกรรมคาถานี้ก่อนจะเริ่มเรียนพระปริยัติ และเข้าที่ภาวนาทุกคราวไป ท่านผู้ใหญ่ทั้งหลายมีสมเด็จพระสังฆราช (วัดราชสิทธาราม) เป็นต้น ล้วนนับถือคาถานี้อยู่ทั่วกัน จนกระทั่งอาราธนากัมมัฏฐานก็ใช้คาถานี้ ท่านจึงคิดเอาคาถานี้อยู่ทั่วไป จนถึงอาราธนาก็ใช้คาถานี้ ท่านจึงคิดเอามาผูกเป็นรูปปรุงเปรียบเข้าอีกหลายอย่าง หัตถ์ขวาแห่งสุนทรีวาณี ซึ่งทำเพียงดังอาการกวักนั้น เพื่อจะให้ได้กับคำว่า "เอหิ ปัสสิโก โอปะนะยิโก" ซึ่งถือเอาความหมายว่า เรียกให้มาดูดวงแก้วในหัตถ์ซ้าย เปรียบเป็น "อมตะ" รูปบุรุษเบื้องขวานั้นเปรียบเป็น "ภิกษุสงฆ์สาวก" รูปสตรีเบื้องซ้ายนั้นเป็น "พระภิกษุณีสงฆ์สาวิกา" เทวดาแถวล่างนั้นหมายถึง "เทวโลก" พรหมแถวบนหมายถึง "พรหมโลก" ต่างมาทำสักการบูชา น่านน้ำภายใต้นั้นเปรียบด้วย "สังสารวัฏ" นาคและสัตว์น้ำเปรียบเป็น "พุทธบริษัท" ท่านหมื่นศิริธัชสังกาศเจ้ากรม(แดง) มาเขียนแล้วเข้ากรอบลับแลตั้งไว้บูชา ภายหลังได้ทำเป็นรูปหล่อขึ้นด้วย อนึ่ง พระสุนทรีวาณี เป็นพระที่ทรงไว้ด้วยความเมตตาอย่างสูง เป็นพระที่เป็นสิริมงคลมหาลาภต่างๆ จึงเหมาะแก่ห้างร้าน บริษัท และร้านค้าทั่วไป จะมีไว้บูชาเพื่อเจริญด้วยลาภ ยศ ความสุข สรรเสริญ ตลอดจนความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานของตน โดยมีคาถาบูชาพระสุนทรีวาณี ดังนี้ "มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรี ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง ฯ" “ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนานางฟ้า คือพระไตรปิฎก ผู้มีรูปอันงาม เกิดแต่ท้องประทุมชาติ คือพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่กว่านักปราชญ์ทั้งหลาย มะนัง ขอจงมาสู่มโนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติละเสียซึ่งอาสวะกิเลส ที่ดองอยู่ในสันดานของข้าพเจ้า ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียดให้สิ้นไปเสื่อมไป ข้าพเจ้าจะไม่ทำให้เป็นอัตตกิลมถานุโยค ไม่ทำให้ลำบากแก่สังขาร” ส่วน"เหรียญพระสุนทรีวาณี"เหรียญนี้นั้น จัดสร้างโดยเจ้าคุณศรี(สนธิ์) เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในวันพระราชทานเพลิงศพของพระมงคลราชมุนี เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2495 โดยใช้กรรมวิธีการสร้างโดยการหล่อโบราณ มีลักษณะพิมพ์ทรงคล้าย "กลีบบัว" เนื้อหามวลสารประกอบด้วยโลหะและเศษทองชนวนของพระกริ่งหลาย ๆ รุ่นของเจ้าคุณศรี(สนธิ์) มาผสมผสานเททองหล่อด้วยฤกษ์พระราชทานเพลิงศพ กระแสเนื้อโลหะจะออกสีน้ำตาลอมเขียว ด้านหน้า เป็นรูปพระสุนทรีวาณีประทับนั่งขัดสมาธิเพชรเหนืออาสนะบัว ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นระหว่างพระอุระในอาการแบบกวักเรียก พระหัตถ์ซ้ายมีดวงแก้ว พระเศียรเป็นรูปมงกุฎ ส่วนด้านหลัง เป็นพื้นเรียบ มีอักษรปั๊มว่า "ม.ค.๑" หมายถึง "พระมงคลราชมุนี" นอกจากนี้ยังมีพระเกจิอาจารย์ในยุคนั้นร่วมปลุกเสกอีกมากมาย อาทิ -หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา -หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก -หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ -หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง -หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เป็นต้น โดยมีจำนวนการสร้างขึ้นเพียง 108 องค์เท่านั้น จัดเป็นของดีที่หาชมได้ยากยิ่ง |
|||||||||||||||
ราคา
|
- | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0894255525 | |||||||||||||||
ID LINE
|
pianoamulet | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
12,272 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารทหารไทย / 026-2-65447-8 ธนาคารไทยพาณิชย์ / 376-2-02304-1 ธนาคารกรุงเทพ / 082-0-06435-0
|
|||||||||||||||
|